วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Prey : เหยื่อ และ ความทรงจำในสนามบิน

ขณะนี้ผมนั่งเขียนบทความนี้อยู่ในห้องผู้โดยสารขาออกที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต ที่เดียวกับที่ผมอ่านหนังสือเรื่อง Prey ของ Michael Crichton เมื่อ ปี 2004

เหตุการณ์คล้ายๆกันคือ ผมมาภูเก็ตแบบเช้าเย็นกลับ
ปีนั้นปีที่ผมมา เกิด Tsunami ที่ป่าตอง
หวังว่าปีนี้...2011 คงจะไม่เกิดอะไรขึ้น

ภูเก็ตในสายตาผมเปลี่ยนไป มันมีบรรยากาศใหม่ๆที่ผมรู้สึกแตกต่างไปจากการมาครั้งที่แล้ว
Prey ในสายตาผมก็เช่นกัน มันมีบรรยากาศที่แตกต่างไปจากงานเขียนยุครุ่งเรืองของ Crichton

ผมยกให้ Jurassic park เป็นเพชรยอดมงกุฎของ Crichton
นิยายก่อนหลังนั้นอย่าง Sphere และ Congo ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้
คือกลุ่มที่มีโครงเรื่อง และ พลังเพียงพอจะไปทำเป็นภาพยนตร์

แตกต่างจาก Prey ซึ่งผมถือว่าเป็นนิยายช่วงหลังของเขา
เนื้อหาและกลิ่นอายของ Science Fiction ยังคละคลุ้ง
แต่มันกลับไปไม่ถึงดังที่นิยายเก่าๆได้เคยไปตั้งมาตรฐานเอาไว้

Prey ยังคงเป็นการรวมเอาองค์ประกอบเด่นๆของ Crichton มาใช้ได้อย่างเหมาะสม
รายละเอียดและข้ออ้างอิงทางวิชาการก็ยังทำได้อย่างดีเช่นเคย

เพียงแต่ขาดอรรถรสบางอย่างที่จะพลักให้มันก้าวต่อไปเหมือนดังที่นิยายรุ่นพี่ๆเคยทำไว้ไม่ได้เท่านั้นเอง

เปิดฉากเรื่องขึ้นมาด้วยสถานการณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ที่เปิดเผยไม่ได้ในห้อง lab แห่งหนึ่ง ซึ่งมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้กลุ่มตัวเอกต้องเข้าไปพัวพัน มีปมปริศนาที่ต้องแก้ไข มีสถานการณ์ขับขันที่ต้องเอาตัวรอดให้ผู้อ่านได้ลุ้นระทึกเป็นระยะๆ

ปริศนาทั้งหมดเริ่มทยอยคลายตัวในช่วงกลางๆเรื่องขมวดไปสู่จุดจบ

แต่แก่นเรื่อง และวิธีเล่าเรื่องที่เปิดฉากด้วยตอนท้ายทำให้ส่วนตัวผมรู้สึกว่ามันไม่ประติดประต่อแบบแปลกๆ จึงยังไม่เคยได้หยิบมันขึ้นมาอ่านซ้ำอีกครั้งเลย

พอมานึกถึงบรรยากาศตอนที่อ่านมัน ทำให้ตัวเองรู้สึกแก่ๆยังไงไม่รู้...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น